วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย

            ฮัลโหลสวัสดีค่ะชาวไอทีทุก ๆ คน  เจอกันอีกแล้วนะคะกับบล็อกนี้  วันนี้เราจะมารีวิวการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลายให้ดูกันว่าเป็นยังไง เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ





ขั้นตอนแรกเลยนะค่ะเราต้องเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดกันก่อนคะ  มีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยคะ


1. มัลติมิเตอร์






2. พาวเวอร์ซัพพลาย





3. แหนบ




อุปกรณ์ที่สำคัญก็จะมีประมาณนีนะค่ะ  เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์ครบทั้งหมดแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่าคะ

ขั้นตอนแรกให้นำแหนบมาเสียบที่ PIN 14 และ 15 เหมือนในรูป



          และต่อไปก็ทำการเสียบปลั๊กให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงาน  หลังจากนั้นก็นำมัลติมิเตอร์มาทำการวัดค่าไฟฟ้าในแต่ละ Pin โดยให้เราปรับค่าสเกลไปที่แรงดัน DC 20V   จากนั้นก็นำสายวัดมิเตอร์สีดำต่อลงกราวด์หรือเสียบลงรูน๊อตที่ยึดพาวเวอร์ซับพลายไว้  สุดท้ายในขั้นตอนนี้เราก็นำสายวัดมิเตอร์สีแดงไปวัดในแต่ละ Pin  ว่ามีกำลังไฟเท่าไหร่



วิดีโอการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย




          เสร็จสิ้นแล้วค๊าาา สำหรับการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของพาวเวอร์ซัพพลาย  ขอบคุณชาวไอทีทุกคนที่เข้ามาติดตามชมและศึกษานะค่ะ ไว้เจอกันใหม่ในบล็อกหน้า รับรองว่ามีสาระดีๆ มาฝากอีกแน่นอน วันนี้เจ้าของกระทู้ลาไปก่อนแล้ว ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่ะ ^^

     

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review การเปิด - ปิดคอมพิวเตอร์นอกเคส


     ฮัลโหล...สวัสดีค่ะเจอกันอีกแล้วค๊าา มีอะไรดี ๆ มาฝากชาวไอทีอีกเช่นเคย  วันนี้จะเป็นการรีวิว การเปิด - ปิดคอมพิวเตอร์นอกเคส  การเปิด - ปิดเครื่องในที่นี้ไม่ใช้ปุ่ม Power ใช้เปิด-ปิดธรรมดานะ  แต่เป็นการต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บอร์ดข้างนอกเคส  ฟังดูอาจจะแปลกนะค่ะ 555 เรามาดูดีกว่าว่าจะสามารถเปิดคอมพิวเตอร์ได้มั้ย 
1 2 3 ไปกันเล๊ยยยย.......5555





       ขั้นตอนแรกเลยคือรื้อค่ะ 555 เราจะรื้อทุกอย่างออก แล้วแกะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกอย่างออกจากเมนบอร์ด ต่อจากนั้นให้ไปศึกษาใน Data Sheet ควรทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์ผ่านทางเมนบอร์ดว่าทำยังไง เมื่อศึกษาข้อมูลมาอย่างดีแล้ว  เราก็มาเริ่มกันเลยค๊าาา 





       

      หลังจากที่ต่ออุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทีนี้เราก็จะทำการเปิด - ปิด เครื่องนอกเคส  ว่าแต่ว่าจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าเราจะไม่เปิด-ปิดง่ายๆ โดยปุ่ม Power  แล้วเราจะเปิดเครื่องได้ยังไงใช่มั้ย 555 คำตอบก็คือ ไขควง  ฟังไม่ผิดหรอกค่ะ เราจะเปิด-ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ด้วย ไขควง และนี่ก็คือหน้าตาเจ้าไขควงมากความสามารถนี้ค่ะ


    จากนั้นเราจะใช้ไขควงเปิดเครื่อง  ทำได้โดยการเอาไขควงไปแตะที่พินสีดำ ถ้าหากพัดลมหมุนทำงาน นั่นก็คือเราสามารถใช้งานได้ตามปกติคะ จะได้ดังภาพนี้ 







          และเมื่อเราต้องการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ให้นำไขควงไปแตะที่พินสีดำที่เดิม  โดยแตะค้างไว้จนกว่าพัดลมจะหยุดหมุน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ดับไปนั่นเอง


          และถ้าเราต้องการจะรีเซตเครื่อง  ให้เรานำไขควงไปแตะที่พินที่ช่องสีแดงค้างไว้นะคะ  ซักพักจอคอมพิวเตอร์จะดับไปและติดขึ้นมา  ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รีเซตเรียบร้อยแล้วคะ


วิดีโอบรรยากาศในการการสาธิตค้าาาา....




          เสร็จสิ้นแล้วค๊าาา สำหรับการเปิด - ปิดคอมพิวเตอร์นอกเคส  ถือว่าประสบความสำเร็จค่ะ ทุกคนในห้องปลอดภัยดีไม่มีการระเบิดใดๆ ทั้งสิ้น 555 สุดท้ายนี้ขอบคุณชาวไอทีทุกคนที่เข้ามาติดตามชมและศึกษานะค่ะ 
ไว้เจอกันใหม่ในบล็อกหน้า รับรองว่ามีสาระดีๆ มาฝากอีกแน่นอน วันนี้เจ้าของกระทู๊ลาไปก่อนแล้ว ไว้เจอกันใหม่นะค่ะ สวัสดีค่ะ ^^

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มาแล้ววววว!!! Review การเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลา

               สวัสดีคะทุกๆ คน วันนี้ก็เจอกันอีกตามเคยนะคะ ชาวไอทีทุกคนที่ติดตามวันนี้เรามีสาระดีข้อมูลดี ๆ มาฝากกันอีกตามเคยคะ  บล็อกนี้ก็เหมือนเดิมกับทุก ๆ บล็อกเช่นเคย คือเราได้เช็คคอมพิวเตอร์ในห้องสุสานห้องคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฎชื่อดังในหนึ่งในอุดรธานีมา คอมพิวเตอร์ที่เรานำมาเช็คในวันนี้ก็คือเครื่องเดิม แต่พัดลมเพาเวอร์มันเสียไม่สามารถใช้งานได้ เราเลยจะรีวิวการเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายคอมเครื่องนี้ให้ดูกัน  ขั้นตอนในการเปลี่ยนจะยุ่งยากมากน้อยเพียงใด หรือง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก จะได้รู้กันในไม่ช้านี้ มาดูกันเล๊ยยย^^
          ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัว และผู้ร่วมชะตากรรมกันอีกเช่นเคย
คนที่ 1 ----> เจ้าของบทความ นางสาวนิภาพร   ทองคำสุข (เริ่มจากซ้ายมือนะเสื้อสีม่วงคนสวยๆอ่ะ) 
คนที่ 2 ----> นายกฤตพจน์   พลยศ
คนที่ 3 ----> นางสาวจุฑาลักษณ์   ใจชื่น



              ก่อนอื่นนะคะ เรามาดูอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนก่อนว่ามีอะไรบ้าง  อุปกรณ์ที่เราใช้
เปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย  ก็มีดังนี้
1.      หัวแร้ง



2.      ตะกั่วบัดกรี




3.      ตัวดูดตะกั่ว



4.      ขี้ผึ้ง




5.      สก็อตไบร์



              ก่อนอื่นเลยนะเราแกะเอาพาวเวอร์ซัพพลายออกมาจากเคสก่อนนะคะ



ต่อไปเราก็แกะฝาของพาวเวอร์ซัพพลายออกมาจากเคส 





นี่ไงเพาเวอร์ซัพพลายของเรา หน้าตาเป็นอย่างงี้ 5555



              ขั้นตอนต่อไปเราก็แกะเอาแผงวงจรออกมาจากตัวพาวเวอร์ซัพพลาย  เพื่อที่จะได้สะดวกในการเปลี่ยน และไม่เป็นอันตราย  ไม่ก่อเกิดความเสียหายแก่แผงวงจรอีกด้วยน๊า


  และเจ้านี่ก็คือพัดลมที่เราจะทำการเปลี่ยนมัน



              จากนั้นนะ เราก็นำจะนำหัวแร้งมาบัดกรีเอาสายไฟออก  สายไฟเรามีอยู่ 2 เส้นเราจะบัดกรีออก  คือมีสายสีแดง และสีดำ
           
         จากนั้นเราก็เริ่มมาบัดกรีกันเลย  การบัดกรีนั้นเราจะทำอยู่ด้านหลังของแผงวงจร มองดูว่าสายสีดำและสายสีแดงของเรานั้นอยู่ที่ตำแหน่งไหน จากกันก็ลงมือเลย




             อย่ารอช้าต่อไปก็นำพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนได้เลยจ้า

             
                มาถึงขั้นตอนอันสำคัญคือเราจะประกอบตัวพัดลมกับแผงวงจร  เราจะบัดกรีทีละเส้น  โดยใส่สีดำก่อนเพราะมันจะอยู่ข้างในสุด  ต่อไปก็ค่อยต่อสายสีแดง  ปล.เพื่อความปลอดภัยอย่าให้ตะกั่วของสองเส้นนี้ติดกันนะจ้ะ


               เสร็จแล้วในการเปลี่ยนพัดลมของเรา  จากนั้นเรามาทดสอบกันว่า พัดลมที่เปลี่ยนนั้นสามารถใช้ได้มั้ย  การทดสอบเราจะใช้ลวดหรืออุปกรณ์ที่นำไฟฟ้า จี้ที่ Pin 14 และ 15 หรือสังเกตดูว่าจะเป็นสายไฟสีเขียวและสีดำ



               จากนั้นเราก็เสียปลั๊กดูว่าพัดลมที่เปลี่ยนนั้นหมุนหรือไม่  ถ้าหมุนแสดงว่าใช้งานได้ปกติ  จากนั้นก็ประกอบกลับที่เดิม เราถือว่าเราทำการเปลี่ยนพัดลมได้สำเร็จ
ต่อไปก็คือวิดีโอเล็กๆน้อยๆ บรรยากาศในการเสี่ยงชีวิตเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลาย 555

ขั้นตอนการบัดกรี

วิดีโอการเทสพัดลมหลังเปลี่ยนเสร็จ


            สุดท้ายแล้วนะ เจ้าของบล็อกต้องขอขอบคุณชาวไอทีทุกคนเลยนะที่ติดตาม  การเปลี่ยนพัดลมพาวเวอร์ซัพพลายของเราในวันนี้  ถ้ามีโอกาสเจ้าของบล็อกจะมารีวิวชำแระชิ้นส่วนคอมให้ดูอีกนะ  เจอกันใหม่ในบล็อกต่อไปจ้า บ๊ายบายยยยย^^